27 กรกฎาคม 2547

วิทยาศาสตร์เก่า-ใหม่ (Soft science and Hard science)

ความแตกต่าง แบบตรงกันข้าม ระหว่างวิทยาศาสตร์เก่าและ how to ที่มาจากรากฐานคิดวิทยาศาสตร์ แบบเก่า กับ วิทยาศาสตร์ใหม่ และ how to ใหม่ ที่มีฐานคิดกับใกล้เคียงกับ ภูมิปัญญาตะวันออกในอดีต โดย เฉพาะ ปรัชญาพุทธ และ ปรัชญาเต๋า

หัวใจของความแตกต่างคือ

วิทยาศาสต ร์เก่า วางอยู่บนฐานคิดที่ว่าด้วยการเอาชนะธรรมชาติ และการสร้างอารยธรรม ที่เน้นการผลิตทางวัตถุและการบริโภคนิยมว่า คือ รากฐานแห่งอารยธรรม

ฟิสิกส์ใหม่และพุทธรรมสอนให้เรารู้จักคุณค่าแห่งธรรมชาติและเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบและสันติ

วิทยาศาสตร์เก่า สอนให้เราเห็นแก่เงิน, เงินหรือรายได้ย่อมมีค่ายิ่งกว่าชีวิตผู้คน

ว ิทยาศาสตร์เก่าสอนให้เราประเมินทุกอย่างเป็น "ตัวเลข" ทุกสิ่งจึงกลายเป็นสิ่งไร้ชีวิต ฟิสิกส์ใหม่และพุทธสอนให้เรารู้ว่า ทุกอย่างคือชีวิตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

ชีวิตหนึ่งล้วนเกี่ยวพันกันอย ่างแยกไม่ออกจากชีวิตอื่นๆ เราเลี้ยงไก่แบบ ไฮเทค โตเร็วและเลี้ยงด้วยยาและสารเคมี มนุษย์ผู้บริโภคก็หนีไม่พ้นที่ต้องรับ "กรรม" ต้องบริโภคยา สารกระตุ้นความเติบโต และสารเคมีอื่นๆ

วิทยาศาสตร์เก่าสอนเราให้โทษสิ่งอื่นๆ ว่า เป็นสิ่งชั่วร้าย ไอ้ไว้รัส ไอ้เชื้อโรค ไอ้(หวัด)นกชั่ว ไอ้ผู้ก่อการร้าย

ฟิสิกส์ใหม่และพุทธกลับบอกว่าเหตุปัจจัยนั้นมีมากมายไม่มีอะไรหรอกที่ชั่วหรือดี

แต่ที่สำคัญมนุษย์มักมองข้ามเหตุปัจจัยที่มาจากภายใน

ศัตรูตัวร้ายที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ และในสมองของเราเอง นั่นคือ อวิชชา หรือ วิทยาศาสตร์ เก่า ที่ก่อให้เกิด อัตตา ตัณหา และอุปาทาน

พ ูดแบบสรุป ก็คือ งานนี้ชี้ว่า ทั้งวิทยาศาสตร์เก่าและ how to แบบเก่าทั้งหมด มีส่วนสำคัญและเป็นที่มาสำคัญของวิบัติภัยทั้งทางสังคมและธรรมชาติ

ท ี่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ ทั้งวิทยาศาสตร์เก่า และ how to แบบเก่า ๆ กำลังมีส่วนทำให้วิบัติภัยทางธรรมชาติ และทางสังคมขยายตัว แพร่ระบาดหนักหน่วงแรงยิ่งขึ้น

รากแห่งวิกฤตของรัฐไทยในปัจจุบันมาจา กความเชื่อโง่ ๆ เช่นเรื่อง ความมั่นคงแห่งชาติ และความสงบราบคาบด้วยกำลัง รวมทั้งมาจากวิทยาศาสตร์โง่ ๆ และ อหังการที่เรียกว่า "พันธุวิศวกรรม"

ต ้องขอโทษด้วยที่ผมไม่สามารถระบุที่มาของบทความได้ เป็นเพราะ เขียนเรื่องนี้มานานแล้วแต่มาคุ้ยเจอที่บ้านแล้วลืมส่งมาให้อ่านกัน ดังนั้นจะบอกจากความคิดเห็นของผมโดยสรุปคือ ตามแนวความคิดแบบ วิทยาศาตร์ ใหม่ หรือ ฟิสิกส์ใหม่ นั้น ได้ยอมรับแนวคิดที่แน่นอน แล้วว่า ความไม่แน่นอนทั้งหลายเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยที่ความรู้ที่มนุษย์ตีค่า ประเมินออกมาได้นั้น ผิดพลาดและไม่แน่นอน ได้ตลอดเวลา ไม่ว่า จะเป็น แนวคิดของฟิสิกส์ ยุคใหม่ ที่ผมอนุมานเอาจากสมองน้อยๆ ของผม ว่า เริ่มจากยุคของ ไอสไตน์ และ กฏ ความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก ที่ว่า ยิ่งเราวัดค่า ๆ นึงได้ถูต้องแม่นยำเท่าไร อีกค่านึงที่เกียวข้องกันนั้นย่อมถูกต้องน้อยลง (เป็นผลจากความพยายามจะทำสิ่งหนึ่งให้ถูกต้องปัจจัยเลยเปลี่ยนไป) ณ ความแม่นยำในสถานะหนึ่งอาจจะผิดพลาดได้ในสถานะหนี่ง ย่อมเป็นไปตามหลักของปรัชญาตะวันออกมากขึ้น

ผ มจึงได้เกิดอุตริความคิดของผมเองมากขึ้นไปอีกว่าระหว่างการผสมผสานกันระหว่ าง soft science เช่น สังคม , มนุษย์ และ hard science ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิตศาสตร์ ซึ่งในความหมายของผมนั้นจะต้องบอกก่อนว่า ไม่ได้ แปลว่า soft science นั้น เป็นศาสตร์อย่างอ่อนหรือง่ายกว่า hard science แต่อย่างใด แต่เป็นศาสตร์แห่งความพิถีพิถันและอ่อนไหวยิ่งนัก ต่างจาก hard science ที่มองถึงความเป็นจริงและมองข้ามปัจจัยอย่างอื่นไปอย่างที่ soft science มอง ขอเรียก (Hard Science) ง่ายๆ ว่า เป็น ศาสตร์ กระด้างละกัน ดังนั้น เราจึงขาดไม่ได้ ทั้ง soft science และ hard science ดั่ง หยิน และ หยางที่เป็น สมดุลกัน หนักไปข้างใด ความสมดุลนั้นก็จะเสียไป เราจึงเริ่มได้เห็น การผสมผสานกันของ ฟิสิกส์ใหม่ ทีได้ เริ่มมีแนวโน้มมาในทางปรัชญาตะวันออกมากขึ้น และต้องไม่ลืมว่า สังคมศาสตร์ สมัยใหม่ ก็จะต้อง ผสมผสาน แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย

เขียนลงเว็บบอร์ดของ ibn แต่จำไม่ได้ว่าเมื่อไร
MrsJan

27 มิถุนายน 2547

อ่านหนังสือแตก (The Reader)

ในโลกยุคปัจจุบัน "การอ่านหนังสือออก" ไม่ได้มีความหมายเพียงรู้อักขรวิธีพอจะอ่านออกมาเป็นคำได้
แต่หมายถึงกระบวนการคิดและทำความเข้าใจ
เชื่อมโยงความเข้าหากัน แยกแยะระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่างๆ
รวมไปถึงนำเอาความรู้ความเข้าใจที่ได้มาจากการอ่านเข้าไปเชื่อมต่อกับความรู้ความเข้าใจที่มีมาก่อน

แม้ในโลกยุคอดีต ทักษะอย่างนี้ก็มีความจำเป็น เพียงแต่ว่าในอดีตเราอาจได้ความรู้และข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ
ที่ไม่ใช่ตัวหนังสือมากกว่า ในขณะที่โลกยุคอดีตเน้นการทำความเข้าใจความรู้ที่มีลักษณะค่อนข้างสถิตย์
แตกต่างจากโลกปัจจุบันที่เน้นการมองหาช่องทางใหม่ๆ, ความสัมพันธ์ใหม่ๆ, บทสรุปใหม่ๆ จึงทำให้ความจำเป็นในการ
"อ่านหนังสือออก" ตามความหมายนี้เข้มข้นขึ้น

ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจใช่ไหมครับที่เขาพบว่า มีคนไทยในหมู่ผู้ถูกสำรวจเพียง 1%
เท่านั้นที่มีทักษะการอ่านระดับที่จะอ่านข้อเขียนที่มีความซับซ้อนได้ ที่ไม่น่าแปลกใจก็เพราะ เราทุกคนคงรู้สึกเหมือนกันว่า
การศึกษาในโรงเรียนของเราเอง (ไปจนถึงมหาวิทยาลัยก็ว่าได้) สอนการอ่านเพียงแค่อ่านได้ด้วยอักขรวิธี
ไม่ใช่ทักษะการอ่านที่เป็นกระบวนการคิดที่ซับซ้อน

ฉะนั้น คนไทย (พูดถึงแต่คนไทยเพราะเขียนให้คนไทยอ่าน ไม่ได้จะบอกว่าคนไทยเท่านั้น) จึงชอบอ่านอะไรง่ายๆ แค่บอกให้รู้ว่า
"อะไรเป็นอะไร" มากกว่าที่จะเรียนรู้กระบวนการคิดที่จะนำไปสู่ข้อสรุปนั้นๆ
ข้อสอบจากชั้นประถมถึงมหาวิทยาลัยนิยมถามว่าอะไรเป็นอะไรมากกว่ากระบวนการคิด
แค่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็อาจเป็นเศรษฐีได้ เพราะตอบคำถามใน "เกมเศรษฐี" ได้หมด

ในขณะที่ปัจจุบัน ทั้งรัฐและสังคมกำลังส่งเสริมการอ่าน แต่ความสามารถในการอ่านของคนไทยกลับมีจำกัด
ถึงจะอ่านมากขึ้นก็อาจจะยัง "อ่านไม่ออก" เหมือนเดิม นอกจากนี้การอ่านเป็นสิ่งไม่น่าอภิรมย์เลย
ถ้าการอ่านเป็นเพียงสื่อให้เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไมมากมายนัก

ในเมื่อไม่ได้คิดจะไปชิงรางวัลของเกมทีวี จำไปก็ไม่หวาดไม่ไหว ซ้ำอ่านไปก็เครียด
บางคนมีดินสอสีคอยขีดข้อความให้หนังสือเลอะเทอะด้วย ตรงกันข้ามนะครับ
การอ่านที่รับทั้งความหมายและนัยยะของความหมายที่สลับซับซ้อนไปด้วย สร้างกระบวนการความเข้าใจ
และคิดสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง "ทำให้สมองตื่นตัว" สารความสุขหลั่งไหล
แทนที่จะทำให้เครียดกลับเกิดความเพลิดเพลินในการอ่าน

ผมเชื่อว่าตราบเท่าที่เรายัง "อ่าน" ไม่เป็น คืออ่านเพียงเพื่อจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรอยู่แค่นั้น
การปลูกฝังให้คนไทยรักการอ่านก็เกิดขึ้นได้ยาก อ่านก็อ่านกันอย่างเครียดๆ อย่างนี้
เด็กไทยยังอุตส่าห์อ่านได้วันละครึ่งชั่วโมงก็นับว่าน่านับถือมาก ไม่ใช่แค่อ่านมากอ่านน้อยเท่านั้นนะครับ
แต่ผมคิดว่าการอ่านในโลกปัจจุบันเป็นช่องทางของความรู้มากที่สุดมากกว่าการพูดให้ฟังในชั้นเรียนหรือทีวีหรือตลาดมากนัก

แต่ไม่ใช่อ่านเฉยๆ หากต้องหมายถึง "การอ่านเป็น"
หรือสามารถสร้างกระบวนการคิดและความเข้าใจของตนเองในการอ่านสิ่งที่สลับซับซ้อนได้ด้วย

ความรู้ที่การอ่านจะเป็นสื่อไปถึงได้นั้น ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงอะไรที่เกี่ยวกับสังคม, วัฒนธรรมและศิลปะเท่านั้น
ความสามารถที่จะสร้างกระบวนการคิดและความเข้าใจในการอ่านนั้นสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วย
ไม่ใช่เพียงรู้ข้อเท็จจริงในทางวิทยาศาสตร์นะครับ
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการอ่านเป็นนั้นฝึกสมองให้รู้จักมองหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่มีความสลับซับซ้อนได้

แล้วเอาเข้าจริง วิชาความรู้ต่างๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ด้วยนั้นคืออะไรเล่า
ถ้าไม่ใช่การมองเห็นความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของตัวแปรต่างๆ

วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การท่องสูตรเพื่อเอาไปแก้โจทย์ต่างๆ
แต่คือการมองเห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรที่สูตรแต่ละอย่างจำลองขึ้นไว้เป็นสัญลักษณ์
เอาแต่จำสูตรโดยเข้าไม่ถึงความสัมพันธ์ที่ตัวสูตรจำลองไว้ ก็เป็นแค่เทคนิค "เหมือนที่ช่างบัดกรีต้องเรียนรู้เทคนิค" เท่านั้น

แต่ผมสงสัยว่าในกรณีของไทยนั้น อาจจะอยู่ที่ทัศนคติของเราที่มีต่อความรู้มากกว่า
จึงทำให้เราสอนการอ่านหรือส่งเสริมการอ่านกันอย่างแคบๆ เพียงแค่การรับรู้ข้อมูลว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น

จากบทความของ อาจารย์ นิธิ ผมอยากจะบอกว่า

" ทุกวันนี้เราอ่านหนังสือกันเป็นแล้วหรือยัง ถ้าพวกเราลองคิดดูว่าถ้าการอ่านหนังสือแล้วเกิดความเครียดจริง แล้วพวกหนอนอ่านหนังสืออยู่เป็นประจำ เค้าไม่เป็นโรคเครียดตายกันไปหมดแล้วรือ แต่สิ่งที่อยากให้ทุกคนรู้คือ ความสุขที่ได้จากการอ่านหนังสือนั้น ย่อมไม่ต่างกับแรงกระตุ้นจากยาเสพติดหรืออาหารอร่อยๆ

เพียงแค่ทุกค นได้สลัดทิ้งความรู้สึกที่คิดว่าเครียดแต่ลองคิดดูสิว่ามันเป็น การทำเพื่อตัวเองทั้งสิ้น ใครก็ไม่สามารถรับประโยชน์นี้ไปได้เท่ากับตัวเอง ทุกวันนี้การที่เราไม่รู้สึกสนุกกับมันก็เพราะเราคิดอยู่แค่จะอ่านไปเพื่อสอ บหรือจะหวังผลอะไรก็ตามที่คิดว่าเป็นหน้าที่แล้วนั้น ทำยังไงก็ไม่มีทางสนุกแน่นอน ซ้ำร้ายอ่านไปแล้วยังไม่เข้าใจอีกด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เบื่อมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้นถ้าเราลองมาเปรียบเทียบกั บการทำงาน เราก็จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เราจะทำงานตามใบสั่งซึ่งบางงานอ่านจะน่าเบื่อบ้างแต่แล้วเราจะเอาแค่นั้นรึป ่าว ถ้าเอาแค่นั้นตามหน้าที่ ก็ต้องเบื่อแน่นอน มันไม่ได้ต่างกันเลย เพราะฉะนั้นเราลองคิดว่ารู้ลึกลงไปจากที่เค้าสั่งอีกจะดีกว่าหรือไม่ ยังไงเสียความสุขจากการศึกษาหาความรู้จะต้องตามมาแน่นอน เว้นเสียจากว่าเราจะไปสนใจเรื่องอื่นก็ห้ามกันตามความชอบของแต่ละบุคคลไม่ ได้ แต่ต้องลองถามตัวเองดูว่าความชอบที่เราจะทำอะไรตามใจเรานั้นๆ ได้ประโยชน์หรือไม่ ไม่ว่าจะกับตัวเองหรือกับคนรอบข้าง

อยากให้ทุกคน คิดกันให้ได้มากๆ ว่าวิชาความรู้ใครก็มาเอาของเราไปไม่ได้ ถ้าได้ก็อาจจะแค่ผลพลอยได้ ผลประโยชน์จะตกอยู่ที่เราเพียงคนเดียวเท่านั้นเต็มๆ ส่วนประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับก็เป็นแค่ผลพลอยได้ที่ได้จากตัวเราเท่านั้นเอ ง

จงอย่าได้คิดว่าเราทำเพื่อบริษัทขนาดนี้ เราจะทำไปเพื่ออะไรผลตอบแทนก็ไม่ได้ ถ้าคิดได้แค่นี้ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าไม่อย่างนั้นหาสามีรวยๆ แล้วแต่งงาน จับจ่ายใช้สอยหาความสุขจากเงินที่สามีหามาแล้วอยู่เฉยๆ น่าจะสบายใจกว่าครับ" :)

เขียนให้อ่านสำหรับ Newsletter ภายในบริษัท จำไม่ได้ว่าเขียนไว้เมื่อไร
MrsJan

27 กุมภาพันธ์ 2547

เส้นทางเศรษฐี (Millionaire)

เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่แนวคิดเกี่ยวกับทุนกำลังเปลี่ยน และ เพราะว่าแนวคิดเกี่ยวกับทุนเปลี่ยน แนวคิดเกี่ยวกับงานและคุณธรรมที่เกี่ยวกับงานทั้งหมดก็กำลังเปลี่ยนไปด้วย

ก ่อนที่จะเข้าสู่เศรษฐกิจแบบเงินตราเต็มตัว ทุนหมายถึงการสร้างผลิตภาพจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น จับปลา, เบิกป่า, ทำนา, หรือตัดจากขาย ฯลฯ

ทรัพย์จึงเกิดจากแรงกายเป็นส่วนใหญ่ และด้วยเหตุดังนั้น ความขยันหมั่นเพียรจึงหมายถึงการหมั่นใช้แรงกายเพื่อสร้างทรัพย์

ค วามรวยหรือความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจในชีวิต หมายถึงความมั่นคงด้านอาหาร (มีข้าวเต็มยุ้ง), ด้านสังคม (คือได้การยอมรับและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น), และด้านจิตใจ (มีความสุขความพอใจในชีวิต)

คุณธรรมของเศรษฐีที่นอกเหนือจากความขยัน หมั่นเพียร จึงมีความหมายถึงการรู้จักประหยัด, อดออม, ไม่กินเหล้าเมายาและไม่ติดการพนัน แต่ก็เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และทำบุญสุนทาน

ท ุนจึงไม่ใช่เงินตรา แต่เอาเข้าจริงแล้วหมายถึงคุณธรรมที่จะกำกับการใช้แรงกายไปในทางที่จะก่อให้ เกิดทรัพย์อย่างยั่งยืนดังกล่าวต่างหาก

จนเมื่อแม้เศรษฐกิจเปลี่ยนเข ้าสู่ระบบเงินตรามากแล้ว ผมคิดว่าทุนก็ยังไม่ใช่เงินตรา อย่างน้อยก็ไม่ใช่เงินตราเพียงอย่างเดียว ถ้าลองย้อนกลับไปดูประวัติของเศรษฐีรุ่นเก่าๆ ของไทย (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีนหรือเชื้อจีน) ก็จะพบ "นิทาน" เรื่องเดียวกัน ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร, อดออม และมีน้ำใจต่อคนรอบข้าง จนเกิดเป็นเส้นสายเครือข่ายสำหรับทำธุรกิจของตัว

ส่วนทุนที่เป็นเงินตราก็ได้มาจากความขยันหมั่นเพียรและอดออมของตัว รวมกับการระดมทุนจากญาติพี่น้อง

จ ะมีอะไรที่เพิ่มเติมเข้ามาก็เห็นจะได้แก่ การมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ เช่น ทำโรงสีแข่งกับฝรั่ง, เดินเรือขนข้าวไปเมืองจีน ฯลฯ เป็นต้น เพราะมองออกว่าตลาดข้าวไทยในต่างประเทศนั้นจะขยายตัวต่อไปอีกนาน ถ้าพูดภาษาสมัยปัจจุบันก็คือ เศรษฐีเหล่านั้น "อ่านเกมออก"

แต่การ "อ่านเกมออก" ไม่ใช่คุณสมบัติสำคัญเพียงอย่างเดียว ถึงอย่างไรก็ต้องมีคุณธรรมเศรษฐีดังที่กล่าวแล้วควบคู่ไปด้วยเสมอ

ผ มอาจพูดอะไรให้ฟังดูดีเกินจริงไปหน่อย เพราะในความจริงแล้ว พ่อค้าเศรษฐีเหล่านี้ก็เอาเปรียบผู้ผลิตและผู้บริโภคของตัวเท่าที่จะไม่เป็น อันตรายต่อธุรกิจของตัวอย่างแน่นอน

แม้กระนั้นก็ยังถือกันว่าคุณธรรมของเศรษฐีดังที่กล่าวแล้วมีความสำคัญมากกว่า

ผ มเข้าใจว่าลักษณะอย่างที่ผมกล่าวนี้ไม่ได้มีเฉพาะในเมืองไทย แต่ถือกันทั่วไปในโลกทุนนิยมว่า ความขยันหมั่นเพียร, อดออม และชื่อสัตย์ (อย่างน้อยก็ดูเหมือนซื่อสัตย์) เป็นคุณธรรมสำคัญสำหรับการเป็นเศรษฐี

" นิทาน" ประชาธิปไตยของอเมริกันในศตวรรษที่แล้วจะชี้เศรษฐีเหล่านี้ออกมาสักหนึ่งโหล เพื่อจะบอกว่าที่นี่ให้โอกาสอันเท่าเทียมกันแก่ทุกคน ดูเด็กจนๆ เหล่านี้สิ บัดนี้เขาคือใคร

ฉะนั้น ไม่แต่เฉพาะยุคสมัยที่ทรัพย์ย่อมมาจากแรงกายเพียงอย่างเดียว แม้ในยุคหลังจากนั้นซึ่งทรัพย์คือหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารแล้ว คุณธรรมเศรษฐีก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แปลว่าทุนที่แท้จริงไม่ใช่เงินตรา หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่เงินตราเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงคุณธรรมบางอย่างที่จำเป็นสำหรับเจ้าของเงินตราด้วย

คนอายุ รุ่นผม เมื่อได้ยินท่านนายกฯ พูดว่า คนเราไม่เป็นหนี้ก็ไม่รวย จึงฟังทะแม่งหูพิลึก เพราะเราถูกสอนมาว่าเงินตราเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อรับใช้คุณธรรมบางอย่างส ำหรับสร้างตัวเป็นเศรษฐี มีแต่เงินตราหากไร้คุณธรรมอย่างนั้นก็ไม่มีโอกาสเป็นเศรษฐี

เล่นหวย เล่นพนันบอลยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเฮงที่สุดก็ได้มาแต่เงินตรา ไม่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาได้

แ ต่คนแก่ขนาดผม มีชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วย่อมขาดความเชื่อมั่นในตัวเองไปหมด ไม่แน่ใจว่าอะไรที่เรายึดถือนั้นมันไม่เหมาะกับกาลสมัยเสียแล้วกระมัง ยิ่งอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรีอย่าง คุณทักษิณ ชินวัตร ก็ยิ่งแย่ลงไปใหญ่ เพราะท่านทำให้คนไทยทั่วไปเชื่อเสียแล้วว่า ความคิดอะไรที่ไม่ตรงกับท่านย่อมเป็นเศษเดนจากยุคอะนาล็อกทั้งหมด

แล้วกูจะได้ดิจิเติลกับเขาได้ไหมเนี่ย

อ ย่างไรก็ตาม ผมจึงเอาประวัติเศรษฐีรุ่นใหม่ ทั้งไทยทั้งเทศออกมาอ่านหลายคนด้วยกัน แล้วพบว่า เออ จริงนั่นแหละ ผู้เขียนประวัติคนเหล่านี้ไม่ได้เน้นย้ำคุณธรรมเศรษฐีที่ผมและคนรุ่นผมคุ้นเ คยอีกแล้ว

คุณธรรมใหม่คือ "อ่านเกมออก," กล้าได้กล้าเสีย, มีวิสัยทัศน์ซึ่งแปลตามหนังสือประวัติเหล่านี้ก็คือ อ่านออกว่าความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันจะทำให้เกิดตลาดอะไร, ลดต้นทุนได้อย่างไร, ขยายและรักษาตลาดได้อย่างไร, ระดมทุนได้ในต้นทุนต่ำสุดได้อย่างไร ฯลฯ

"อ่านเกมออก" นี่แหละครับ ดูเหมือนจะเป็นคุณธรรมเศรษฐีรุ่นใหม่ที่สำคัญที่สุด เพราะจะสามารถเอาทุนที่เป็นเงินตราไปต่อทุนที่เป็นเงินตราต่อไปได้ไม่สิ้นสุ ด ในขณะที่ความขยันหมั่นเพียรโดยเฉพาะที่อาศัยแรงกาย หรือการประหยัดอดออมแทบจะไม่เป็นคุณธรรมที่ประวัติเศรษฐีรุ่นใหม่ให้ความ ยกย่องเอาเสียเลย

และทุนย่อมหมายถึงเงินตราเพียงอย่างเดียว จะได้มาโดยไปกู้เขาหรือปั๊มหุ้นขายอย่างไรก็ตามที แต่ต้องมีทุนเป็นเงินตราเสียก่อนจึงสามารถเป็นเศรษฐีได้

ก็อย่างที่ผมพูดไว้แล้วแต่แรกนะครับว่า เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับทุนเปลี่ยน แนวคิดเกี่ยวกับงานและคุณธรรมที่เกี่ยวกับงานก็เปลี่ยนไปด้วย

งานคือการรู้ข้อมูลอย่างกว้างขวาง แล้วมองหาจนเจอช่องที่จะทำหรือเพิ่มกำไรในกิจการของตัว หรืออ่านเกมให้ออกนั่นเอง

ค วามสามารถอย่างนี้ต้องใช้คุณธรรมอะไรบ้างดูเหมือนไม่ค่อยชัดนัก หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ยังไม่มีใครสามารถเขียนแผนที่ของเส้นทางเศรษฐีสมัยใหม่นี้ได้ เพียงแต่เส้นทางเก่าที่เศรษฐีรุ่นเก่าเคยเดินๆ กันมานั้นใช้ไม่ได้แล้วแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราดูความจริงนอกประวัติของเศรษฐีรุ่นใหม่ ผมก็ไม่ทราบหรอกครับว่า เส้นทางเศรษฐีแบบเก่านั้นล้าสมัยไปหมดแล้วจริงหรือไม่ ยังมีใครที่เป็นเศรษฐีขึ้นมาได้จากคุณธรรมแบบเก่าอีกหรือไม่

แต่ในขณ ะเดียวกัน ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเศรษฐีรุ่นใหม่เหล่านี้อาศัยแต่การ "อ่านเกมออก" เพียงอย่างเดียวจึงกลายเป็นเศรษฐีไปได้ เพราะจำนวนไม่น้อยของเศรษฐีเหล่านี้มีอะไรที่มัวหมองไม่มากก็น้อย ปนๆ อยู่ในประวัติเกือบทั้งนั้น

หลายคนยังมีคดีติดตัวค้างอยู่ที่ศาล บางคนก็อาศัยอำนาจการเมืองที่คุมเสียงข้างมากในสภาออกกฎหมายให้ระงับคดีจนกว ่าตัวจะพ้นจากตำแหน่งทางการเมือง, บางคนก็สู้คดียืดเยื้อเกี่ยวกับการค้าที่ไม่เป็นธรรมอยู่ไม่ได้เลิก, บางคนก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นปีศาจการเงินที่อาศัยช่องโหว่ของการค้าเงินเอา เปรียบคนอื่น

และอีกหลายคนก็ประสบความสำเร็จจากธุรกิจสัมปทานในประเท ศที่ไม่มีความโปร่งใส ในเรื่องการให้สัมปทาน โดยเฉพาะในเอเชียและละตินอเมริกา อีกหลายคนรวยขึ้นมาจากผูกขาดในทางปฏิบัติเป็นเวลานาน เพราะอุดหนุนทางการเงินแก่เผด็จการ

ผมจึงไม่แน่ใจว่าในการค้าที่แฟร์ จริงๆ แค่ "อ่านเกมออก" จะเป็นคุณธรรมนำไปสู่ความมั่งคั่งล้นเหลือได้จริงหรือไม่ แต่ก็ไม่แน่ใจด้วยว่า คุณธรรมเก่าๆ สำหรับเป็นเศรษฐีนั้นยังใช้ได้ในโลกปัจจุบันหรือไม่

เลยไม่รู้จะแนะน ำคนที่อยากเป็นเศรษฐีว่าอย่างไร ทั้งๆ ที่คนรุ่นหนุ่มสาวในปัจจุบันดูอยากเป็นเศรษฐีกันทุกคน ไม่ค่อยเคยเห็นใครที่อยากเป็นคนธรรมดาบ้าง

อันนี้ ผมได้ คัดลอก บทความ จาก มติชนสุดสัปดาห์ ของ อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ มาให้ได้อ่าน เป็นอาหารสมองกัน

คัดลอกบทความมาให้อ่านกันบนเว็บบอร์ด
MrsJan