27 กรกฎาคม 2547

วิทยาศาสตร์เก่า-ใหม่ (Soft science and Hard science)

ความแตกต่าง แบบตรงกันข้าม ระหว่างวิทยาศาสตร์เก่าและ how to ที่มาจากรากฐานคิดวิทยาศาสตร์ แบบเก่า กับ วิทยาศาสตร์ใหม่ และ how to ใหม่ ที่มีฐานคิดกับใกล้เคียงกับ ภูมิปัญญาตะวันออกในอดีต โดย เฉพาะ ปรัชญาพุทธ และ ปรัชญาเต๋า

หัวใจของความแตกต่างคือ

วิทยาศาสต ร์เก่า วางอยู่บนฐานคิดที่ว่าด้วยการเอาชนะธรรมชาติ และการสร้างอารยธรรม ที่เน้นการผลิตทางวัตถุและการบริโภคนิยมว่า คือ รากฐานแห่งอารยธรรม

ฟิสิกส์ใหม่และพุทธรรมสอนให้เรารู้จักคุณค่าแห่งธรรมชาติและเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบและสันติ

วิทยาศาสตร์เก่า สอนให้เราเห็นแก่เงิน, เงินหรือรายได้ย่อมมีค่ายิ่งกว่าชีวิตผู้คน

ว ิทยาศาสตร์เก่าสอนให้เราประเมินทุกอย่างเป็น "ตัวเลข" ทุกสิ่งจึงกลายเป็นสิ่งไร้ชีวิต ฟิสิกส์ใหม่และพุทธสอนให้เรารู้ว่า ทุกอย่างคือชีวิตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

ชีวิตหนึ่งล้วนเกี่ยวพันกันอย ่างแยกไม่ออกจากชีวิตอื่นๆ เราเลี้ยงไก่แบบ ไฮเทค โตเร็วและเลี้ยงด้วยยาและสารเคมี มนุษย์ผู้บริโภคก็หนีไม่พ้นที่ต้องรับ "กรรม" ต้องบริโภคยา สารกระตุ้นความเติบโต และสารเคมีอื่นๆ

วิทยาศาสตร์เก่าสอนเราให้โทษสิ่งอื่นๆ ว่า เป็นสิ่งชั่วร้าย ไอ้ไว้รัส ไอ้เชื้อโรค ไอ้(หวัด)นกชั่ว ไอ้ผู้ก่อการร้าย

ฟิสิกส์ใหม่และพุทธกลับบอกว่าเหตุปัจจัยนั้นมีมากมายไม่มีอะไรหรอกที่ชั่วหรือดี

แต่ที่สำคัญมนุษย์มักมองข้ามเหตุปัจจัยที่มาจากภายใน

ศัตรูตัวร้ายที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ และในสมองของเราเอง นั่นคือ อวิชชา หรือ วิทยาศาสตร์ เก่า ที่ก่อให้เกิด อัตตา ตัณหา และอุปาทาน

พ ูดแบบสรุป ก็คือ งานนี้ชี้ว่า ทั้งวิทยาศาสตร์เก่าและ how to แบบเก่าทั้งหมด มีส่วนสำคัญและเป็นที่มาสำคัญของวิบัติภัยทั้งทางสังคมและธรรมชาติ

ท ี่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ ทั้งวิทยาศาสตร์เก่า และ how to แบบเก่า ๆ กำลังมีส่วนทำให้วิบัติภัยทางธรรมชาติ และทางสังคมขยายตัว แพร่ระบาดหนักหน่วงแรงยิ่งขึ้น

รากแห่งวิกฤตของรัฐไทยในปัจจุบันมาจา กความเชื่อโง่ ๆ เช่นเรื่อง ความมั่นคงแห่งชาติ และความสงบราบคาบด้วยกำลัง รวมทั้งมาจากวิทยาศาสตร์โง่ ๆ และ อหังการที่เรียกว่า "พันธุวิศวกรรม"

ต ้องขอโทษด้วยที่ผมไม่สามารถระบุที่มาของบทความได้ เป็นเพราะ เขียนเรื่องนี้มานานแล้วแต่มาคุ้ยเจอที่บ้านแล้วลืมส่งมาให้อ่านกัน ดังนั้นจะบอกจากความคิดเห็นของผมโดยสรุปคือ ตามแนวความคิดแบบ วิทยาศาตร์ ใหม่ หรือ ฟิสิกส์ใหม่ นั้น ได้ยอมรับแนวคิดที่แน่นอน แล้วว่า ความไม่แน่นอนทั้งหลายเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยที่ความรู้ที่มนุษย์ตีค่า ประเมินออกมาได้นั้น ผิดพลาดและไม่แน่นอน ได้ตลอดเวลา ไม่ว่า จะเป็น แนวคิดของฟิสิกส์ ยุคใหม่ ที่ผมอนุมานเอาจากสมองน้อยๆ ของผม ว่า เริ่มจากยุคของ ไอสไตน์ และ กฏ ความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก ที่ว่า ยิ่งเราวัดค่า ๆ นึงได้ถูต้องแม่นยำเท่าไร อีกค่านึงที่เกียวข้องกันนั้นย่อมถูกต้องน้อยลง (เป็นผลจากความพยายามจะทำสิ่งหนึ่งให้ถูกต้องปัจจัยเลยเปลี่ยนไป) ณ ความแม่นยำในสถานะหนึ่งอาจจะผิดพลาดได้ในสถานะหนี่ง ย่อมเป็นไปตามหลักของปรัชญาตะวันออกมากขึ้น

ผ มจึงได้เกิดอุตริความคิดของผมเองมากขึ้นไปอีกว่าระหว่างการผสมผสานกันระหว่ าง soft science เช่น สังคม , มนุษย์ และ hard science ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิตศาสตร์ ซึ่งในความหมายของผมนั้นจะต้องบอกก่อนว่า ไม่ได้ แปลว่า soft science นั้น เป็นศาสตร์อย่างอ่อนหรือง่ายกว่า hard science แต่อย่างใด แต่เป็นศาสตร์แห่งความพิถีพิถันและอ่อนไหวยิ่งนัก ต่างจาก hard science ที่มองถึงความเป็นจริงและมองข้ามปัจจัยอย่างอื่นไปอย่างที่ soft science มอง ขอเรียก (Hard Science) ง่ายๆ ว่า เป็น ศาสตร์ กระด้างละกัน ดังนั้น เราจึงขาดไม่ได้ ทั้ง soft science และ hard science ดั่ง หยิน และ หยางที่เป็น สมดุลกัน หนักไปข้างใด ความสมดุลนั้นก็จะเสียไป เราจึงเริ่มได้เห็น การผสมผสานกันของ ฟิสิกส์ใหม่ ทีได้ เริ่มมีแนวโน้มมาในทางปรัชญาตะวันออกมากขึ้น และต้องไม่ลืมว่า สังคมศาสตร์ สมัยใหม่ ก็จะต้อง ผสมผสาน แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย

เขียนลงเว็บบอร์ดของ ibn แต่จำไม่ได้ว่าเมื่อไร
MrsJan