20 เมษายน 2549

เรื่องหักมุมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพลง (Artist and Capitalism)

อ ุตสาหกรรมเพลงทุกวันนี้ได้สร้างผลกำไรมหาศาล ให้แก่ค่ายเพลงที่โครงโลกอยู่เวลานี้ มีค่ายยักใหญ่อยู่ไม่กี่ค่าย ที่เราเห็นและรู้อยู่ก็ Sony BMG (ที่ควบรวมกับ BMG เป็น Sony BMG), EMI, Universal, Warner จากข้อมูลอ้างว่าราว 3-4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คงเห็นกันนะครับว่าราคา CD เพลงสากลในระยะหนึ่งเคยเห็นอยู่ที่ 5 ร้อย แล้วก็ขยับขึ้นเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าราคาอยู่เท่าไรกันแล้ว ใครทราบช่วย Update หน่อย อีกเรื่องคือผมไม่เชื่ออะไรที่ว่าการทำมาค้าขายมันต้องมีต้นทุน เพราะว่าถ้าอ้างต้นทุนแล้วมันต้นทุนอะไรกัน ที่มันทำให้ได้ผลกำไรที่น่ารังเกียจถึงเพียงนี้

ในขณะที่มีการฟ้องร้ องคดีความกันอยู่ระหว่าง RIAA (Recording Industry Association of America) กับ Napster (โปรแกรมแลกเปลี่ยน file mp3 แบบ P2P เจ้าแรกๆ) ซึ่งทางฝ่าย Napster ให้เหตุผลว่า การแลกเปลี่ยน file กันในลักษณะนี้ เป็นเสมือนกับการช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทำให้ยอดขายเพลงของศิลปินเพิ่มขึ้น

ได้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าในระ หว่างนั้น อัลบั้ม Kid A ของ Radiohead คงไม่สามารถขึ้นอันดับ 1 Billboard ได้ ถ้าเพลงในอัลบั้มไม่หลุดออกมาให้โหลดใน Napster ก่อนอัลบั้มออกจริง 3 เดือน ซึ่งอัลบั้มก่อนหน้านี้ OK Computer ซึ่งดังมากๆ ในทั่วโลก ขึ้นได้เพียงอันดับ 21 ของ Billboard เท่านั้น และ ที่สำคัญ อัลบั้ม Kid A ที่ว่าไม่น่าจะขึ้นอับดับ 1 ได้ง่ายสักเท่าไร เพราะชุดนี้ทำออกมาเอาแต่ใจตัวเอง (ก็คือไม่เอาใจตลาดนั่นแหละ) และเป็นแนวทดลองเอามากๆ

เหตุบังเอิญว่าวง Offspring ต้องการจะทำแบบเดียวกันคือเอาเพลงในอัลบั้มมาให้ Download ฟรีๆ แต่โดนทาง Sony แบนข้อเสนอนี้

ท ำให้คิดกันต่อไปว่า พวกค่ายใหญ่อาจไม่กลัวการเผยแพร่ฟรีๆ แล้วจะไปทำให้ยอดขายลดลงอย่างที่ว่าก็เป็นได้ แต่เป็นเพราะว่ากลัวยอดขายตัวเองจะเพิ่มขึ้นแล้วอาจทำให้แพ้คดีความ แถมยังเป็นกรณีศึกษาให้เหล่าบรรดาศิลปินออกมาทำกันบ้างโดยไม่จำเป็นต้องแอบ อิงค่ายใหญ่ ในการเผยแพร่ผลงานของตนเสมอไป

ข้อมูลอ้างอิงจาก
นิตยสาร Question Mark ฉบับที่ 6

MrsJan
20 เม.ย. 49

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ว๋ายย... Radiohead อะไรไม่รู้จัก เชยจิง ยุคนี้มันต้องสาวกระโปรงเหี่ยน คริ ๆๆ