12 ตุลาคม 2549

ลง OS บน Toshiba Dynabook

ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครเหมือนหรือเปล่า คือมี Notebook บางเฉียบแต่ไม่มี Cd-Rom ที่ Boot ได้ต่อภายนอก ทำให้ลง OS ไม่ได้ (ง่ายๆ)

ขอท้าวความจากเมื่อปีก่อน เรื่องมีอยู่ว่าไปซื้อ Notebook toshiba มือสองของประเทศญี่ปุ่นเค้ามาเป็นแบบ Ultra portable (แบบบางเฉียบ) แต่ไม่มี Cd-Rom ติดมาด้วย แต่ก็คิดว่าไม่ใช่ปัญหาก็เอามา แล้วไปซื้อ CD-Rom ของ Desktop มาต่อภายนอกแทน แต่ปัญหาคือ Bios ของเครื่องนี้มันจะไม่ Boot แผ่นจากเครื่อง Cd-Rom ที่ตัวไม่รู้จัก คือไม่ใช่ของ Toshiba จะ Boot ไม่ได้ ซวยแล้ว Boot ไม่ได้แล้วจะลง Os อย่างไร

เลยต้องไปหาวิธีซึ่งกว่าจะได้ก็กินเวลาไปเป็นสัปดาห์ ที่ลงไปรอบนั้นไม่ได้ Blog เอาไว้เพราะยังไม่เคยใช้ Blog

เอาวิธีลง Windows ก่อน

ถ้าจะลง Window ด้วย ผมใช้ Floppy Drive ที่ Boot ได้ แน่นอนต้องปะยี่ห้อ Toshiba ด้วย เป็น USB ซื้อหาได้ที่ Pantip ชั้น 4 ตอนนั้นซื้อมาตัวละ 800 บาท (ตอนนั้นเท่าไรก็จ่าย ขอให้ Boot ได้เป็นพอ) ผมใช้วิธีสร้าง ฺBoot disk จาก File ที่มีอยู่แล้วในแผ่น Windows นั่นแหละ หา file ที่ชื่อว่า makeboot.exe สั่ง Run มันแล้วมันจะขึ้นให้ใส่แผ่น Disk เพื่อสร้าง แผ่น Boot ผมลง Windows 2000 ใช้ 4 แผ่น เพราะเป็นตัว License ที่ติดมากับเครื่อง ถ้าเป็น Windows XP มันจะมี file exe สร้างแผ่น Boot ไปหาเอาจากเว็บ Microsoft ได้แล้วก็ Boot เครื่องปกติด้วย Floppy Drive ใส่ครบสี่แผ่นแล้ว มันก็จะหา CD-Rom ที่ต่อภายนอกไว้อีกตัวเจอ แล้วก็ลง Windows ไปตามปกติ

คราวนี้มาที่ตัวปัญหา Linux หลังจาก Kernel 2.6 ขึ้นไปรึไงเนี่ย มันจะจุแผ่น Boot ลง Floppy ไม่ไหวแล้ว พอดีว่าเจ้า Dynabook เครื่องนี้มันมี ฺBoot ผ่าน Lan ด้วย PXE Boot (รู้สึกจะเป็นชื่อ Protocol) ความหวังก็ผุดขึ้นมาอีกครั้ง รอบนี้ผม Upgrade จาก Ubuntu Breezy Badger เป็น Ubuntu Dapper Drake

สิ่งที่ต้องเตรียมใช้ Computer อีกเครื่องหนึ่งที่ลง Ubuntu เอาไว้แล้ว จะ Version ไหนก็ได้ แล้วลง 2 ตัวนี้
- tftpd-hpa
- dhcp3-server
- apache2

ใน /etc/inetd.conf กำหนดดังนี้ รู้สึก Default จะเป็นอย่างนี้แหละ
tftp dgram udp wait root /usr/sbin/in.tftpd /usr/sbin/in.tftpd -s /var/lib/tftpboot

ใน /etc/dhcp3/dhcpd.conf ใส่
subnet 0.0.0.0 netmask 0.0.0.0 {
}

host pxeinstall {
#ใส่ Mac address ของ Ethernet เครื่อง Notebook
hardware ethernet 00:08:0D:17:98:15;
#fix address สำหรับให้ ip กับเครื่อง Notebook อะไรก็ได้
fixed-address 192.168.1.6;
filename "pxelinux.0";
}

เอา file ที่อยู่ใน folder netboot/ ทั้งหมดจาก CD-Rom ไปไว้ใน /var/lib/tftpboot ถ้าหาไม่เจอเข้าไปเอาได้ที่ http://archive.ubuntu.com/ubuntu/dists/dapper/main/installer-i386/current/images/netboot/
เอามาแค่ 3 ตัวก็พอ คือ pxelinux.0 pxelinux.cfg ubuntu-installer

เสร็จแล้ว reboot service ทั้ง 2 ตัว

$sudo /etc/init.d/tftpd-hpa restart
$sudo /etc/init.d/dhcp3-server restart

แต่พอมาถึงขึ้นตอนนี้ผมเจอมาแล้วมันยังไม่สามารถใช้การได้ ผมต้อง reboot เครื่องที่เป็น server ก่อน จึงจะ reboot service นี้ได้ ตอนนั้นก็ทำเอาสติแตกเหมือนกันว่าทำไมไม่ได้สักที

ทีนี้ก็ copy file จาก CD Ubuntu ทั้งหมดไปลงไว้ใน folder ที่เป็น Root ของ Webserver โดย default เลย หลังลง Apache แล้ว Root จะอยู่ที่ /var/www/ จะ copy ไปไว้ที่นี่เลยก็ได้ อันนี้ทำเพื่อให้มันเป็น Local Repository

ต่อมา ต่อสาย Lan แบบ Peer-to-Peer หรือจะแบบไหนก็ได้ให้มันเห็นเครื่องกัน เปิดเครื่อง Notebook แล้วรีบกด F2 ก่อนมันจะเข้า ไป Boot Hdd แล้วมันจะให้เลือก Boot ก็เลือกที่มันเป็นรูป Lan แล้วก็รอมันจะเข้าไปหน้า ฺBoot Screen ของ Ubuntu ตามปกติ พอถึงขั้นตอนเลือก Repositories ให้เลือกแบบ กำหนดเอง แล้วพิมพ์ address ของ ตัว server ไป เช่น http://192.168.1.1/ แต่ถ้าจะดึงจาก Net โดยตรงเลยก็ได้ ใช้ Repository ที่มันมีให้เลือกได้เลย เลือกของไทยจะเร็วดี แต่ Net ต้องแรงพอดูเลย อย่างผมหมดสิทธิ์เลยต้องตั้งเป็น Local Repository แทน

เอามาจาก
http://wiki.koeln.ccc.de/index.php/Ubuntu_PXE_Install

MrsJan
8 ต.ค. 2549

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

unite latour suvorikova palazzolo quacktrack claudette overviewby qualigens combination forgets santhome
lolikneri havaqatsu