17 มีนาคม 2549

"ข้อเสนอที่ไม่เคยตอบรับ" (Reject)

ตามที่มีการเสนอกันในช่วงนี้ให้มีการเปิดเวทีพร้อมถ่ายทอดสดทั่วประเทศให้มี การพูดคุย 3 ฝ่าย (Debate) คือ ฝ่ายค้าน ฝ่ายพันธมิตรฯ และ ฝ่ายรัฐบาล ตอบข้อซักถาม รัฐบาลรับข้อเสนอ หึหึ แต่ขอเป็นแบบปิดห้องคุย ...

อยากจะไล่เลียงมาเลยตั้งแต่ม็อบสนธิใหม่ๆ สนธิได้เคยท้าลักษณะทำนองนี้แล้วหลายต่อหลายครั้งหรือแม้แต่ก่อนหน้าก็เคยมี คนเคยท้า (จำไม่ได้แล้วว่าใคร) ว่า ขอให้เชิญผมหรือใคร ไม่ว่าจะเป็นนายธีรยุทธหรือใครก็ได้ ให้ไปออกรายการ นายกทักษิณคุยกับประชาชน คู่กับนายกฯ แล้วให้คุยกันสดๆ เพื่อวิเคราะห์หรือแม้กระทั่งการจับผิด โต้แย้งข้อสงสัย แล้วมีการท้าลักษณะนี้อีกหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีเสียงตอบรับแต่อย่างใด

กลัวโทรทัศน์เหลือเกินนะครับ แต่ก็ไม่แปลกเพราะตัวเองก็เคยพูดไว้ว่าโทรทัศน์นั้นเป็นสื่อที่ทรงประสิทธิภ าพมากที่สุด เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด ดังนั้นวิธีที่จะนำพาตัวเองไปสู่จุดจบคงไม่มีทางรับเด็ดขาด เพราะ นายคนนี้ชอบการสื่อสารข้างเดียว โดยที่ไม่ต้องการให้ใครมาโต้แย้งทันทีทันใด เพราะ หลายเรื่องนั้นตอบไม่ได้!! แต่การพูดผ่านวิทยุก็ดี จดหมายเปิดผนึกก็ดี รวมพลคนรักทักษิณก็ดี ล้วนแล้วแต่มีจุดร่วมที่เหมือนกันก็คือ พูดได้โดยที่ไม่มีใครมาคอยโต้แย้งซึ่งจะเป็นการป้องกันการหน้าแหกได้อย่างดีทีเดียว

อันที่จริง ผมอยากเสนอว่า ไม่ต้องกลัวหรอกครับว่า ถ้าหน้าแหกแล้วจะไม่มีคนเชื่อถือ ถึงแม้นายกจะตอบไม่ได้ แต่ผมก็มั่นใจว่าคะแนนเสียงท่านคงจะไม่ตกไปสักเท่าไร เพราะเรื่องพวกนี้ใครๆ ก็รู้กันอยู่แล้วว่าท่านน่ะ ขี้ฉ้อ โกหกเก่งก็ที่หนึ่ง แต่คะแนนเสียงที่สนับสนุนท่านนั้นเป็นเสียงสนับสนุนที่ แม้ว่าผู้นำจะขี้ฉ้อขนาดไหนก็ยังให้อภัยกันได้ ขอเพียงแค่ให้ได้สมประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างที่เป็นอยู่ฐานเสียง (โดยเฉพาะต่างจังหวัด) ก็พร้อมจะสนับสนุนท่านอยู่แล้ว มันเกิดจากความคิดที่ว่า "พวกเราไม่ได้โง่นะ แต่พวกเรายอมรับได้ นิดๆ หน่อยๆ เราไม่สนหรอกท่านจะทำอะไร ขอให้ผลประโยชน์ตกถึงพวกเราก็พอแล้ว ประชาธิปไตยหรือจริยธรรมมันไม่ได้ทำให้กรูอิ่มท้องหรอกเว้ย" โดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า ไอ้นิดหน่อยนั้นอาจจะส่งผลให้เหลือแค่คำว่า Thailand ปรากฏอยู่บนแผนที่โลกในฐานะกรุงเก่าเท่านั้นเอง

นี่เป็นความแตกต่างที่ว่าเสียงสนับสนุนมักจะมาจากคนต่างจังหวัด เสียงต่อต้านมักจะมาจากคนกรุง เพราะ โดยพื้นฐานนั้นแตกต่างกันอย่างยิ่ง ดังนั้นทฤษฎี "สองนัคราประชาธิปไตย" ยังคงใช้การได้เสมอ ตราบเท่าที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความคิดที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่า งคนกรุงและคนชนบท การที่จะล้มล้างทฤษฎีนี้ได้ คือ ต้องบีบความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทให้แคบลง ซึ่งผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า ชั่วชีวิตนี้ผมคงไม่มีทางได้เห็น

รูปภาพประกอบจาก
กรุงเทพธุรกิจ

17 มี.ค. 2549
MrsJan

ไม่มีความคิดเห็น: